ดาวโจนส์ฟิวเจอร์พุ่งไม่หยุด ล่าสุดทะยานกว่า 300 จุด คลายกังวลวิกฤตแบงก์

ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์พุ่งขึ้นกว่า 300 จุดในวันนี้ ขณะที่นักลงทุนคลายความกังวลต่อวิกฤตการณ์ในระบบธนาคารสหรัฐ

ณ เวลา 20.14 น.ตามเวลาไทย ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์บวก 304 จุด หรือ 0.94% สู่ระดับ 32,760 จุด

ราคาหุ้นของธนาคารเฟิร์สท์ รีพับลิค แบงก์ (First Republic Bank) หรือ FRB พุ่งขึ้นในการซื้อขายก่อนเปิดตลาดหุ้นวอลล์สตรีทวันนี้ ขานรับมาตรการช่วยเหลือภาคธนาคารของทางการสหรัฐ

หุ้น FRB และหุ้นกลุ่มธนาคารภูมิภาคของสหรัฐดีดตัวขึ้นในวันนี้ หลังนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ กล่าวว่า ระบบธนาคารของสหรัฐมีเสถียรภาพ หลังจากที่ทางการสหรัฐออกมาตรการสกัดวิกฤตสภาพคล่องก่อนหน้านี้ และรัฐบาลพร้อมดำเนินการมากขึ้น หากพบว่าวิกฤตการณ์ลุกลามออกไป

นอกจากนี้ รัฐมนตรีคลังสหรัฐกล่าวว่า การที่ธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐอัดฉีดเม็ดเงินในรูปเงินฝากจำนวน 3 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าสู่ธนาคารเฟิร์สท์ รีพับลิค แบงก์ (First Republic Bank) หรือ FRB ถือเป็นการแสดงความเชื่อมั่นต่อระบบธนาคารของสหรัฐ

นางเยลเลนกล่าวถ้อยแถลงดังกล่าว หลังมีข่าวว่า กระทรวงการคลังสหรัฐกำลังศึกษาแนวทางในการทำให้บรรษัทค้ำประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FDIC) สามารถคุ้มครองเงินฝากได้ทั้ง 100% จากปัจจุบันที่ให้การคุ้มครองไม่เกิน 250,000 ดอลลาร์

นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล รายงานโดยอ้างอิงแหล่งข่าวระบุว่า นายเจมี ไดมอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารเจพีมอร์แกน เชส ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐ กำลังเป็นผู้นำการเจรจาร่วมกับผู้บริหารของธนาคารขนาดใหญ่แห่งอื่นๆ เกี่ยวกับมาตรการครั้งใหม่ในการสร้างเสถียรภาพต่อ FRB

รายงานระบุว่า ธนาคารดังกล่าวกำลังพิจารณาเข้าลงทุนใน FRB โดยอาจมีการแปลงเงินฝาก 3 หมื่นล้านดอลลาร์ก่อนหน้านี้ ให้เป็นการเพิ่มทุนในธนาคาร

นักลงทุนจับตาธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะเริ่มการประชุมนโยบายการเงินในวันนี้ และจะแถลงผลการประชุมในวันพรุ่งนี้

การเงิน ดาวโจนส์ฟิวเจอร์

ผลการสำรวจนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมรอบนี้ ซึ่งจะเป็นการแสดงความเชื่อมั่นของเฟดว่าสามารถรับมือวิกฤตการณ์ในระบบธนาคารขณะนี้ และเฟดจะยังคงให้ความสำคัญต่อการสกัดเงินเฟ้อ แม้มีสัญญาณการชะลอตัว แต่ก็ยังคงสูงกว่าเป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2%

“เราคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในวันพรุ่งนี้ โดยเราไม่คิดว่าภาวะไร้เสถียรภาพในระบบการเงินจะเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะทำให้เฟดคงดอกเบี้ย เมื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงที่ว่าเฟดจะสูญเสียความเชื่อมั่นในการต่อสู้กับเงินเฟ้อ ซึ่งเฟดต้องการที่จะรักษาเอาไว้” นักวิเคราะห์จากเจฟเฟอรรี ไฟแนนเชียล กรุ๊ปกล่าว

ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 84.9% ที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 21-22 มี.ค. และให้น้ำหนักเพียง 15.1% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ย

การเงินแนะนำ>>>>เฟดขึ้นดอกเบี้ย ยึด DATA DEPENDENT ไม่เป็นมิตรต่อลงทุน‘สินทรัพย์ดิจิทัล’

เฟดขึ้นดอกเบี้ย ยึด Data Dependent ไม่เป็นมิตรต่อลงทุน‘สินทรัพย์ดิจิทัล’

หากจะเอ่ยว่าตลอดปี 2565 “การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC)” เป็นหนึ่งใน Event ใหญ่ของโลก

แม้ว่าที่ผ่านมา “เฟดขึ้นดอกเบี้ย” จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจชะลอลง สอดคล้องกับนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า

ทว่าตลาดพันธมิตรบอนด์สวนทาง เนื่องจากบอนด์ปรับตัวสูงขึ้น โดยบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐพลิกกลับมาปรับตัวขึ้น สู่ระดับ 3.77% และยังมีความเสี่ยงที่บอนด์ยีลด์ระยะยาวจะปรับตัวสูงขึ้นได้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ อาทิ ข้อมูลตลาดแรงงาน หรือ ข้อมูลเงินเฟ้อ ยังคงสนับสนุนแนวโน้มเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องจนอาจเกินระดับ 5%

ข่าวการเงินล่าสุด

ประกอบกับ สถานะความเป็นเส้นเลือดใหญ่ของสกุลเงิน “ดอลลาร์” ที่ยังคงอยู่ ซึ่งหมายถึงการเป็นสกุลเงินหลักที่ทั่วโลกยังคงให้ความเชื่อมั่นในการถือครองเพื่อเป็นทุนสำรอง และใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าในปัจจุบัน

ทำให้ การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ นั้น ไม่ว่าจะเป็นไปในทางที่ “ดี หรือ แย่” ก็จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อย่างไรก็ตาม ระหว่างทางก่อนถึง การประชุมเฟดครั้งสุดท้ายของปีนี้ (วันที่ 13-14 ธ.ค.) ซึ่งเฟดจะประกาศคาดการณ์ดอกเบี้ยนโยบาย หรือ Dot Plot ใหม่ อีกหนึ่งสินทรัพย์เสี่ยงที่จับตาผลประชุมของเฟด อย่าง “สินทรัพย์ดิจิทัล” ยังคงเผชิญความผันผวนต่อเนื่อง ดังนั้น นักลงทุนควรจะทำตัวเช่นไร !

“ณัฐนันท์ บ่างสมบูรณ์” หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน (บลน.) ฟินโนมีนา จำกัด ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า ประเด็นดังกล่าวหากย้อนความกลับไปก่อนการประชุมเฟดเมื่อเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา ประมาณ 1 สัปดาห์ ตลาดยังมีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การปรับตัวลงของราคาน้ำมัน และความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัวจะกดดันให้ FOMC นั้นชะลอท่าทีที่แข็งกร้าวต่อการใช้นโยบายการเงินลง

อย่างน้อยที่สุด ก็คือคาดหวังว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรอบเดือนพ.ย.ที่ผ่านมานั้น จะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% ครั้งสุดท้าย ก่อนที่ในเดือนธ.ค. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.50% และทยอยลดลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งหยุดขึ้นในไตรมาส 2 ปี 2 ปี 2566 และเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว FOMC จะกลับมาลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้งก่อนปลายปี 66