XD ชี้ปี 2566 ตลาดโทเคนดิจิทัลคึกคักรับปัจจัยบวก ครม.เว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล – VAT ขายโทเคน

XD ชี้ปี 2566 ตลาดโทเคนดิจิทัลคึกคักรับปัจจัยบวก ครม.เว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล – VAT ขายโทเคน

ธุรกิจ

นายธนศักดิ์ กฤษณะเศรณี รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็กซ์สปริง ดิจิทัล จำกัด (XD) กล่าวว่าในปี 2566 สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทโทเคนดิจิทัลมีแนวโน้มจะกลับมาได้รับความสนใจและสร้างความคึกคักให้ตลาดอีกครั้ง หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา เกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับเงินได้และมูลค่าของฐานภาษี (รายได้จากการขายลบต้นทุน) อันเนื่องมาจากการขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนที่เสนอขายต่อประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป (ย้อนหลังไปถึงวันที่พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 มีผลใช้บังคับ) การประกาศดังกล่าวถือเป็นปัจจัยหนุนสำคัญที่จะกระตุ้นให้ภาคเอกชนที่มีความต้องการระดมทุนด้วยการออกโทเคนดิจิทัลอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาได้ชะลอแผนออกไปเพื่อรอความชัดเจนของกฎหมายดังกล่าว สามารถตัดสินใจได้รวดเร็วขึ้น รวมถึงจะสร้างโอกาสให้แก่กลุ่มคนที่ยังไม่มีความต้องการในการระดมทุนในรูปแบบนี้ให้เข้ามาศึกษาและต่อยอดไปสู่โอกาสในการต่อยอดธุรกิจได้ในอนาคต

ปัจจัยดังกล่าวไม่เพียงแต่จะกระตุ้นให้ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทโทเคนดิจิทัลมีความคึกคักมากขึ้น แต่ยังส่งเสริมให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) ได้รับประโยชน์จากการยกเว้นภาษีเช่นกัน เพราะจะทำให้มีผู้เข้ามาขอคำปรึกษาในการออกโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีความสนใจในเทคโนโลยี ที่เป็นทางเลือกใหม่ๆ ในการระดมทุน และสร้างโอกาสให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงแหล่งลงทุนที่หลากหลายและเท่าเทียมมากขึ้น

โดยในส่วนของ เอ็กซ์สปริง ดิจิทัล ในปีนี้มีลูกค้าที่เข้ามาขอคำปรึกษาในการออกโทเคนเพื่อการลงทุนและโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์แล้วมากกว่า 10 ราย โดยหลังจากที่มีความชัดเจนด้านภาษีก็จะเร่งให้หลายๆ รายในจำนวนนี้เข้าสู่กระบวนการเพื่อยื่นคำขออนุญาตให้เสนอขายโทเคนดิจิทัล (filing) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในเร็ว ๆ นี้ต่อไป และจากนโยบายสนับสนุนของภาครัฐที่ออกมา เอ็กซ์สปริง ดิจิทัล จึงตั้งเป้าหมายว่าภายในปีนี้จะมีลูกค้าในส่วนของ ICO Portal เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ซึ่งจะทำให้ เอ็กซ์สปริง ดิจิทัล ครองความเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้นำด้าน ICO Portal ของประเทศไทยต่อไป

อีกหนึ่งปัจจัยที่จะสนับสนุนให้ เอ็กซ์สปริง ดิจิทัล ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้าน ICO Portal เนื่องจากบริษัทฯ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดอย่าง “เครือข่ายบล็อกเชนเทโซส” บล็อกเชนที่ถูกออกแบบมาเพื่อการระดมทุนโดยเฉพาะ ด้วยลักษณะพิเศษที่สามารถอัพเกรดตัวเองได้อัตโนมัติ ทำให้สามารถรองรับจำนวนธุรกรรมที่ขยายตัวขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักลงทุนจึงสามารถมั่นใจได้ว่าโทเคนดิจิทัลที่ออกและเสนอขายผ่านแพลตฟอร์มของ เอ็กซ์สปริง ดิจิทัล จะมีความปลอดภัย ทันสมัย และถูกต้องตามกระบวนการทางกฎหมาย

อัพเดทธุรกิจ มาใหม่ แนะนำข่าวเพิ่มเติม : 4NOLOGUE อัดงบ 900 ล้านปั้น T-POP สู่ตลาดโลก มั่นใจ 2 ปีทยอยคืนทุน

4NOLOGUE อัดงบ 900 ล้านปั้น T-POP สู่ตลาดโลก มั่นใจ 2 ปีทยอยคืนทุน

4NOLOGUE อัดงบ 900 ล้านปั้น T-POP สู่ตลาดโลก มั่นใจ 2 ปีทยอยคืนทุน

ธุรกิจ

4NOLOGUE อัดงบ 900 ล้านปั้น T-POP สู่ตลาดโลก มั่นใจ 2 ปีทยอยคืนทุน รับช่วงโควิดทำธุรกิจอีเวนต์ซบเซาลากยาวจนถึงปัจจุบัน

นายอนุวัติ วิเชียรณรัตน์ ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้ง 4NOLOGUE หรือ โฟร์โนล็อค กล่าวว่า ธุรกิจอีเวนต์เป็นธุรกิจที่มีความอ่อนไหวกับสถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง และภัยพิบัติทางธรรมชาติ แต่คงไม่มีสถานการณ์ใดจะเลวร้ายเท่ากับโควิด เพราะถึงวันนี้ธุรกิจอีเวนต์ก็ยังได้รับผลกระทบแบบลากยาวจนถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม เราได้ใช้ช่วงเวลานี้สร้างความพร้อมองค์กรในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อสร้างโมเดลธุรกิจใหม่เป็นไฮบริดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มของ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น รองรับรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Work สู่การเป็น Entertainment ครบวงจร และครอบคลุมการตลาดครบทุกช่องทางมากที่สุด

ทั้งนี้ เราบริหารความเสี่ยงด้วยการกระจายพอร์ตธุรกิจโดยแบ่งธุรกิจออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเซอร์วิส ยูนิต (Service) ที่รับสื่อโฆษณา รับจ้าง อีเวนต์ ออร์แกไนเซอร์ และส่วนที่ 2 คือ ครีเอเตอร์ ยูนิต (Creator) เกิดจากการสร้างสรรค์ คอนเสิร์ตที่มีแพลตฟอร์มทั้งออนกราวด์ และออนไลน์รูปแบบใหม่ในลักษณะไฮบริดเอ็นเตอร์เทนเมนต์

โดยบริหารธุรกิจด้วยรูปแบบการสร้าง Ecosystem ซัพพอร์ตซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาว เพื่อปรับตัวและพัฒนา เสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาว ทำให้ 4NOLOGUE มีศักยภาพที่จะขยายธุรกิจได้แบบก้าวกระโดด

นายอนุวัติ กล่าวอีกว่า สำหรับแผนการลงทุนปี 2023-2025 ปี เราเตรียมงบไว้ 900 ล้านบาท โดยจะแบ่งลงทุนปีละ 300 ล้านบาท โดยตั้งเป้าคืนทุนตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป เพื่อการสร้าง Ecosystem เอ็นเตอร์เทนเมนต์ โดยมีศิลปินเป็น Flagship เนื่องจากการผลิตศิลปินต้องอาศัยคุณภาพ ต้องใช้มาตรฐานโลกกับศิลปินไทย และมีเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถหยิบเอกลักษณ์ความโดดเด่นต่อยอดได้ ในวันที่โลกเชื่อมต่อกันได้

โดยปี 66 นี้เรามีแผน Artist Journey หรือการเดินทางครั้งใหม่ของศิลปินในรูปแบบของ Tour Concert ประมาณ 20 โชว์ โดยศิลปินภายใต้ 4NOLOGUE ต้องมีเวทีเพื่อเป็นผู้นำในตลาด มีอีเวนต์ เป็นพรีเซ็นเตอร์เพื่อสร้างแวลู ที่ผ่านมาเรามีเทศกาลดนตรี OCTOPOP ซึ่งมีผู้ชมมากกว่า 50,000 คน และถูกพูดถึงใน twitter กว่า 2 ล้านครั้ง ก้าวสู่ Festival ชั้นนำของประเทศ

อัพเดทธุรกิจ มาใหม่ แนะนำข่าวเพิ่มเติม :  คนไทยค้นคำว่า “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” มากที่สุดบน GOOGLE ในปี 2565

คนไทยค้นคำว่า “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” มากที่สุดบน Google ในปี 2565

ประเทศโดยคำค้นหา “เที่ยว” ในปีนี้เพิ่มขึ้น 53% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ข่าวธุรกิจ

สำหรับคำค้นหาที่คนทั่วโลกค้นหากันมากที่สุดคือ Wordle สะท้อนความดังของเกมทายคำ Wordle ที่ฮิตไปทั่วโลก จนสำนักข่าว The New York Times ต้องซื้อกิจการไปเสริมพลังของหน่วยธุรกิจเกมของตัวเอง

1) Wordle

2) India vs England

3) Ukraine

4) Queen Elizabeth

5) Ind vs SA

6) World Cup

7) India vs West Indies

8) iPhone 14

9) Jeffrey Dahmer

10) Indian Premier League

ศารณีย์ บุญฤทธิ์ธงไชย หัวหน้าฝ่ายการตลาด Google ประเทศไทย กล่าวว่า “Google Search เป็นช่องทางหนึ่งที่คนไทยจำนวนหลายล้านคนเลือกใช้ในค้นหาข้อมูล ดังนั้น เทรนด์การค้นหาในแต่ละปีจึงแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่คนไทยให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ

ซึ่งนอกจากจะมีความน่าสนใจแตกต่างกันไปแล้ว ยังอาจทำให้เกิดไอเดียในการลองทำอะไรใหม่ๆ เช่น ลองทำสูตรอาหารใหม่ๆ หรือดูรายการใหม่ๆ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้คนได้กลับมาทบทวนถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของพวกเขาตลอดทั้งปีที่ผ่านมา

ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการหรือแม้กระทั่งครีเอเตอร์ ยังสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปต่อยอดทางธุรกิจหรือเป็นไอเดียในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ เช่น หมวดวิธี ที่ทำให้เราเข้าใจว่าคนสนใจค้นหาวิธีทำอะไร หรือหมวดร้านอาหาร ว่าคนสนใจอาหารประเภทใด”

อ่านข่าวเพิ่มเติม : เงินเฟ้อไทยเดือน ก.ย.เหลือ 6.41% นักวิเคราะห์คาดผ่านจุดพีคแล้ว

เงินเฟ้อไทยเดือน ก.ย.เหลือ 6.41% นักวิเคราะห์คาดผ่านจุดพีคแล้ว

เงินเฟ้อไทยเดือน ก.ย.เหลือ 6.41% นักวิเคราะห์คาดผ่านจุดพีคแล้ว

ไทยรายงานเงินเฟ้อเดือน ก.ย.ที่ 6.41% ชะลอตัวจากเดือน ส.ค.ที่ 7.86% นักวิเคราะห์คาดผ่านจุดพีคแล้ว หลังราคาพลังงานปรับตัวลง แต่ราคาสินค้าเกษตรยังถูกกดดันจากน้ำท่วม

ธุรกิจ เงินเฟ้อไทยเดือน ก.ย.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือน ก.ย. 2565 เท่ากับ 107.70 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเท่ากับ 101.21

ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 6.41% (YoY) ชะลอตัวลงจากเดือน ส.ค. 2565 ที่สูงขึ้น 7.86% (YoY) ตามการชะลอตัวของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน เคหสถาน และเครื่องประกอบอาหาร ประกอบกับฐานดัชนีราคาฯ ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อในเดือนเดียวกันของปีก่อนอยู่ระดับสูง

อย่างไรก็ตาม ในเดือนนี้ราคาสินค้าและบริการโดยรวมยังคงสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากการทยอยปรับราคาเพิ่มตามต้นทุนในช่วงก่อนหน้า พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมขัง และอุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งมีส่วนทำให้เงินเฟ้อยังคงขยายตัว แต่ในอัตราที่ชะลอตัวตามที่คาดการณ์

สำหรับปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 6.41% ได้แก่

สินค้าในกลุ่มพลังงาน ขยายตัว 16.10% (YoY) ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง แม้ว่าราคาจะลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่ราคายังคงสูงกว่าเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

นอกจากนี้ ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล (ค่าแต่งผมชาย ยาสีฟัน แชมพู) ค่าโดยสารสาธารณะ การศึกษา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ (บุหรี่ เบียร์ สุรา) ยังสูงกว่าปีที่ผ่านมา จึงส่งผลให้สินค้าในหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 4.10% (YoY)

อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ แป้งผัดหน้า น้ำยารีดผ้า ค่าส่งพัสดุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ และเครื่องซักผ้า เป็นต้น

สินค้าในกลุ่มอาหารสด ขยายตัว 10.97% (YoY) ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ (เนื้อสุกร ไก่สด) ไข่ไก่ ผักสดและผลไม้ (พริกสด ผักคะน้า กะหล่ำปลี ส้มเขียวหวาน แตงโม มะม่วง)

นอกจากนี้ อาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และเครื่องประกอบอาหาร ราคาเริ่มชะลอตัว แต่ยังคงสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการทยอยปรับราคาเพิ่มขึ้นตามต้นทุนการผลิต ราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่ง

ประกอบกับพื้นที่ผลิตสินค้าเกษตร ทั้งพืชผักและปศุสัตว์ประสบปัญหาจากฝนตกชุกและน้ำท่วมขัง ขณะที่อุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้น จึงส่งผลให้สินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 9.82% (YoY)

อย่างไรก็ตาม สินค้าสำคัญหลายรายการ อาทิ ข้าวสารเหนียว มะพร้าวผล/ขูด มะขามเปียก กล้วยหอม และอาหารโทรสั่ง (Delivery) ราคาปรับลดลง

สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก อยู่ที่ 3.12% (YoY) ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ที่สูงขึ้น 3.15% ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้ เทียบกับเดือนก่อนหน้า เพิ่มขึ้นเพียง 0.22% (MoM) ตามราคาอาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวของสินค้าในกลุ่มอาหารสด

ขณะที่น้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท (ยกเว้นก๊าซยานพาหนะ(LPG)) สินค้ากลุ่มอาหารบางรายการ (ไก่สด ข้าวสารเจ้า เครื่องประกอบอาหาร) และสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด ราคาปรับลดลง และดัชนีราคาผู้บริโภคเฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 6.17% (AoA)

ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือน ก.ย. 2565 สูงขึ้น 10.5% (YoY) ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ซึ่งนับว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่จะส่งผลให้ราคาขายปลีกสินค้าลดลง

อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการผลิต ทั้งราคาวัตถุดิบ พลังงาน และการขนส่งที่อยู่ในระดับสูง จากการทยอยปรับเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับเงินบาทที่อ่อนค่าลง ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิตยังคงขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

ส่วนดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง อยู่ในระดับที่ทรงตัวคือ สูงขึ้น 5.2% (YoY) เท่ากับเดือนที่ผ่านมา โดยยังคงสูงขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าสำคัญ อาทิ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ซีเมนต์ และผลิตภัณฑ์คอนกรีต ซึ่งเป็นผลจากราคาวัตถุดิบและต้นทุนที่สูงขึ้น

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ระดับ 46.4 จากระดับ 46.3 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับลดลงเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในช่วงความเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 สาเหตุมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดำเนินการได้เป็นปกติ

โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่จะเริ่มฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงปลายปี ราคาน้ำมันที่ลดลง และมาตรการของภาครัฐที่ลดภาระค่าครองชีพ เพิ่มกำลังซื้อ และเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนส่งผลให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างประเทศ ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก และเงินบาทที่อ่อนค่าลง ยังคงเป็นปัจจัยลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศไทย

สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า ตามต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์ในประเทศ ที่เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบและอาหารโลกที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับฐานราคาที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน และมาตรการดูแลค่าครองชีพของภาครัฐที่อาจจะมีเพิ่มในช่วงที่เหลือของปี จะทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง

อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น ตามภาคการท่องเที่ยว การส่งออก และรายได้เกษตรกรที่อยู่ในระดับดี รวมถึงฝนตกชุกน้ำท่วมขังพื้นที่เกษตร ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อย และเป็นอุปสรรคต่อการขนส่ง

นอกจากนี้ ราคาพลังงานโลกที่ผันผวน และเงินบาทที่อ่อนค่า ส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบเพิ่มขึ้น จะเป็นปัจจัยที่ทำให้การชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบที่จำกัด

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2565 อยู่ที่ระหว่าง 5.5-6.5% (ค่ากลาง 6.0%) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย

สำหรับความเห็นของนักวิเคราะห์ภายในประเทศ คาดว่าตัวเลขเงินเฟ้อของไทยผ่านจุดพีคไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว