ให้ทารกกินเนยถั่วช่วยลดการเกิดภูมิแพ้ถั่วลิสงได้ถึง 77%

งานวิจัยในสหราชอาณาจักรพบหลักฐานบ่งชี้ว่า การให้เด็กอายุระหว่าง 4-6 เดือน กินเนยถั่วชนิดบดละเอียดในประมาณเล็กน้อย สามารถลดโอกาสเกิดภาวะภูมิแพ้ถั่วลิสงลงได้ถึง 77%

ทีมนักวิทยาศาสตร์ชี้ว่านี่คือโอกาสสำคัญช่วงที่เด็กเริ่มหย่านมในการลดความเสี่ยงการเกิดอาการแพ้ถั่ว ซึ่งในบางรายอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ภูมิแพ้อาหารเกิดขึ้นได้อย่างไร

ภาวะแพ้อาหารเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันเข้าใจผิดคิดว่าอาหารบางอย่างมีอันตรายต่อร่างกายของเรา

สำหรับบางคน แม้จะรับประทานถั่วลิสงไปเพียงเล็กน้อยก็อาจเกิดอาการแพ้รุนแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อาการภูมิแพ้ถั่วลิสงเป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้โรงเรียนบางแห่งห้ามใช้ถั่วเป็นส่วนผสมในอาหารที่ปรุงให้แก่เด็กนักเรียน

Skip เรื่องแนะนำ and continue reading

เรื่องแนะนำ
  • ดื่มกาแฟใส่นมช่วยเพิ่มสารต้านอักเสบในร่างกายได้ 2 เท่า
  • แพทย์จีนผ่าตัด “แฝดปรสิตในสมอง” ออกจากศีรษะทารก
  • ออกกำลังกายหนักพอควรวันละ 11 นาที ช่วยป้องกันการเสียชีวิตได้ 1 ใน 10 ราย
  • ลดน้ำหนักด้วยกับนับแคลอรี่ วิธีนี้ล้าสย และเสี่ยงต่อสุขภาพไหม

End of เรื่องแนะนำ

ก่อนหน้านี้มีมักมีคำแนะนำให้เด็กอ่อนหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจกระตุ้นให้เกิดภาวะภูมิแพ้ บางกรณีมีข้อแนะนำให้ผู้ปกครองหลีกเลี่ยงการให้บุตรหลานกินถั่วลิสงจนกว่าจะอายุ 3 ขวบ

อย่างไรก็ตาม หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาได้หักล้างความเชื่อดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าการเริ่มกินถั่วลิสงในขณะที่ระบบภูมิคุ้มกันกำลังพัฒนา จะทำให้ร่างกายได้เรียนรู้ว่าอาหารชนิดนี้ไม่ใช่สิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตราย และจะช่วยลดการเกิดอาการแพ้ได้

นี่ยังหมายความว่า ร่างกายจะได้สัมผัสกับถั่วลิสงในท้อง แล้วจะยอมรับและจำแนกว่านี่คืออาหาร มากกว่าการสัมผัสผ่านทางผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้ร่างกายคิดว่าถั่วคือสิ่งแปลกปลอมที่อันตราย

ในอิสราเอลซึ่งผู้คนนิยมทานขนมที่มีส่วนผสมของถั่วลิสงตั้งแต่เด็ก มีอัตราการเกิดภาวะแพ้ถั่วต่ำกว่าหลายประเทศ

ผลงานวิจัยชิ้นอื่น ๆ ก็พบหลักฐานบ่งชี้ว่า กสุขภาพารให้เด็กหัดกินอาหารที่เชื่อมโยงกับอาการแพ้ เช่น ไข่ นม และแป้งสาลี ตั้งแต่ยังเล็กจะช่วยลดความเสี่ยงแพ้อาหารเหล่านี้ได้

สุขภาพ ให้ทารกกินเนยถั่ว

ข้อแนะนำจากนักวิทยาศาสตร์

งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Allergy and Clinical Immunology เป็นของทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตัน, คิงส์คอลเลจลอนดอน และ National Institute for Health and Care Research หน่วยงานวิจัยของสำนักบริการสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักร (National Health Service หรือ NHS)

พวกเขาได้คำนวณช่วงเวลาเหมาะสมที่สุดในการเริ่มให้ทารกกินเนยถั่วคือระหว่าง 4-6 เดือน ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเกิดภูมิแพ้ถั่วได้ถึง 77%

นี่เทียบเท่ากับการป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพ้ถั่วได้ปีละประมาณ 10,000 รายจากทั้งหมด 13,000 ราย

การให้เด็กหัดกินอาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วล่าช้าจนกระทั่งเด็กอายุ 1 ขวบ จะลดโอกาสเกิดภูมิแพ้ถั่วได้ 33%

ส่วนเด็กที่มีอาการผื่นผิวหนังอักเสบ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะภูมิแพ้นั้น ทีมนักวิจัยแนะนำให้เริ่มกินเนยถั่วตอนอายุ 4 เดือน ตราบใดที่เด็กมีความพร้อม

โดยผู้ปกครองควรเริ่มด้วยการให้เด็กกินผักและผลไม้ปริมาณเล็กน้อยก่อน จากนั้นเมื่อเด็กเริ่มกินอาหารได้ก็สามารถให้รับประทานเนยถั่วชนิดบดละเอียดราว 3 ช้อนชาต่อสัปดาห์ และให้ต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายปี และเนื่องจากเนยถั่วอาจมีลักษณะค่อนข้างแห้ง พ่อแม่อาจใช้วิธีผสมกับน้ำนมแม่ได้

โควิดสายพันธุ์ “XBB.x” และ “BQ.1.1” ทำไมวิ่งนำตัวอื่นๆ

โควิดสายพันธุ์ “XBB.x” และ “BQ.1.1” ทำไมวิ่งนำตัวอื่นๆ

อัปเดตความรู้เกี่ยวกับไวรัสสายพันธุ์ ย่อยที่ระบาดทั่วโลก ปุจฉาสำคัญเหตุไฉนไวรัสโควิดสายพันธุ์ “XBB.x” และ “BQ.1.1” ทำไมวิ่งนำตัวอื่นๆ?

งานวิจัยล่าสุดจากทีมงานเนเธอร์แลนด์ลงใน The Lancet Microbe เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า XBB.1 และ BQ.1.1 นั้นมีการกลายพันธุ์ไปจากไวรัสโควิดดั้งเดิมที่เคยระบาดมาก่อนไปมาก

จึงไม่แปลกใจที่มีลักษณะการดื้อต่อภูมิคุ้มกันทั้งจากวัคซีนและจากที่เคยติดเชื้อมาก่อนอย่างมาก และเป็นเหตุผลสำคัญเรื่องหนึ่งที่ทำให้เกิดการติดเชื้อกันในคนจำนวนมาก ทั้ง “ติดเชื้อใหม่” และ “ติดซ้ำ”

กรณี “BQ.1.1 ที่มีการระบาดเยอะในอเมริกาและยุโรป เหตุใดจึงกำลังโดนแย่งพื้นที่จาก XBB.1.5”

สุขภาพ

ข้อมูลจาก UKHSA (11 มกราคม 2566) ทำการวิเคราะห์ให้เห็นว่าเมื่อเทียบกันตัวต่อตัวแล้ว XBB.1.5 นั้นมีอัตราการขยายตัวของการระบาดสูงกว่า BQ.1.1 อย่างมากราว 40%

นอกจากนี้ที่ต้องจับตามอง เพราะ…มาแบบเงียบๆในหลายประเทศแถบยุโรปคือ CH.1.1 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวของการระบาดสูงกว่า BQ.1.1 เช่นกัน แต่ยังน้อยกว่า XBB.1.5

ในขณะที่สายพันธุ์อื่นๆที่ระบาดเยอะในบางประเทศ เช่น BF.7 ในจีน อัตราการขยายตัวของการระบาดน้อยกว่า BQ.1.1 จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่อธิบายให้เราเข้าใจปรากฏการณ์ระบาดของสายพันธุ์นี้ว่าน่าจะมาจากเรื่องจำนวนคนที่ติดเชื้อสายพันธุ์นั้นๆ

พฤติกรรมการป้องกันตัว รวมถึงระดับภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่ใช้และเงื่อนเวลาในการฉีดและกระตุ้น ไม่ใช่แค่เรื่อง “สายพันธุ์” แต่เพียงอย่างเดียว…ยิ่งมีการเดินทางเข้ามาจากต่างประเทศจำนวนมากโดยสัดส่วนติดเชื้อมาก ย่อมส่งผลกระทบตามมาในแง่ความเสี่ยงของการระบาดที่จะปะทุขึ้นในพื้นที่ได้

พุ่งเป้าไปที่ “ความรุนแรงของ BQ.1.1” ข้อมูลจาก UKHSA ได้นำเสนอผลวิเคราะห์เรื่องนี้ โดยเปรียบเทียบผู้ติดเชื้อ BQ.1.1 จำนวน 2,585 คน และที่ติดเชื้อ BA.5 จำนวน 8,112 คน พบว่ามีอาการป่วยรุนแรงจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลไม่แตกต่างกันนัก

โดย BQ.1.1 จะมีความเสี่ยงป่วยรุนแรงมากกว่า BA.5 ราว 6% แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเรื่องความรุนแรงของ XBB.1.5 นั้น ยังไม่มีข้อมูล คงต้องคอยติดตามกันอย่างใกล้ชิด

ภาพสะท้อนการระบาดในประเทศ “ญี่ปุ่น”…แนวโน้มการติดเชื้อรายวันชะลอตัวลง แต่จำนวนเสียชีวิตรายวันนั้นยังสูงมาก …การระบาดในญี่ปุ่นนั้นสะท้อนให้ไทยเราจำเป็นต้องระมัดระวัง เพราะตัวขับหลักน่าจะมาจากความแออัดของประชากรและกิจกรรมเดินทางท่องเที่ยว

แม้อัตราการฉีดวัคซีนจะสูง แต่ก็ติดกันมาก ป่วยกันมาก และเสียชีวิตกันมากได้

โดย…ญี่ปุ่นนั้นเป็นกรณีศึกษาที่ชัดเจนว่าระลอกที่ 8 ล่าสุดนั้นหนักกว่าทุกระลอกที่เคยผ่านมาทั้งหมด

ข้อมูลข้างต้นนี้สะท้อนความเป็นจริงที่ว่า…ความเชื่อเรื่องไม่ต้องกังวลเพราะไวรัสอ่อนลง และคนแข็งแกร่งจากภูมิคุ้มกันของวัคซีนหรือเคยติดเชื้อมาก่อนนั้น…“ไม่จริง” จำเป็นต้องป้องกันตัวสม่ำเสมอในสถานการณ์ที่เหยียบคันเร่งเศรษฐกิจโดยอาศัยการท่องเที่ยวที่มีจำนวนคนมาก กิจกรรม สถานที่เสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น

แอบมองสายพันธุ์ที่นำการระบาดในแต่ละประเทศ…โดยรวมแล้วทั่วโลก BQ.1.1 ยังครองสัดส่วนที่สูงสุด และพบว่า XBB.1.5 ที่มีการระบาดขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากอเมริกาไปสู่ 38 ประเทศ

อย่างไรก็ตามมีหลายประเทศที่มีสายพันธุ์ย่อยที่ครองการระบาดในประเทศที่จำเพาะ เช่น ภูมิภาคเอเชีย…อินเดีย XBB, เกาหลีใต้ BN.1.3, ญี่ปุ่น BF.5, จีน BF.7, สิงคโปร์ XBB.1, ฮ่องกง CH.1.1, ฟิลิปปินส์ BA.2.3.20, ภูมิภาคโอเชียเนีย…ออสเตรเลีย XBF, BR.2.1, นิวซีแลนด์ CH.1.1 ภูมิภาคยุโรป…รัสเซีย CL.1

แนะนำข่าวสุขภาพเพิ่มเติม : หมอรามาฯ เผยอาการ

หมอรามาฯ เผยอาการ

หมอรามาฯ เผยอาการ ฝีดาษลิง จาก 16 ประเทศ คล้ายซิฟิลิสจนหมอสับสนบางเคส

หมอรามาฯ เผยอาการ ฝีดาษลิง

หมอเผยอาการหลังติดโรคฝีดาษลิง รวมข้อมูลจาก 16 ประเทศ พบมีผื่นส่วนใหญ่ในใต้ร่มผ้า และส่วนใหญ่เป็นแบบตุ่มหนอง ลักษณะคล้ายกับซิฟิลิส บางเคสหมอยังสับสน
โรคฝีดาษลิง กำลังเป็นโรคที่ทั่วโลกจับตา ซึ่งมีหลายประเทศแล้วที่เริ่มพบมีผู้ติดเชื้อ และหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย พบหนุ่มวัย 27 ชาวไนจีเรีย ที่รู้ตัวว่าติดเชื้อขณะท่องเที่ยวอยู่ที่ จ.ภูเก็ต ก่อนจะหลบหนีการรักษาข้ามไปประเทศกัมพูชา จนมีรายงานว่าถูกจับกุมตัวได้แล้วเมื่อคืนที่ผ่านมา (23 กรกฎาคม 2565) ขณะที่ต่อมาองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้โรคฝีดาษลิง เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธาณสุขระดับโลก

อ่านข่าว : จับได้แล้ว ! หนุ่มไนจีเรียผู้ป่วยฝีดาษลิง พบซ่อนตัวในอพาร์ตเมนต์ใกล้กรุงพนมเปญ

เกี่ยวกับเรื่องนี้ (22 กรกฎาคม 2565) ผศ. ดร.นพ.ปวิน นำธวัช อาจารย์ประจำภาควิชาระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ได้มีการให้ข้อมูลถึงลักษณะอาการ และการดำเนินโรคของโรคฝีดาษลิง ผ่านทวิตเตอร์@Pawin Numthavaj อ้างอิงจากรายงานของทีมนักวิจัยระหว่างประเทศที่มีการรายงานไว้ในงานวิจัยรวมรวมเคส 528 เคส จากการรายงานใน 16 ประเทศ ซึ่งรวบรวมจากการรายงานโดยสมัครใจของแพทย์ที่เจอโรค แล้วมาแชร์ลักษณะและรูปแบบเคสที่เจอกัน อาจจะไม่แสดงถึงลักษณะทั้งหมดที่จะเป็นไปได้ของโรค เนื่องจากอาจมีกรณีคนไข้ไม่ยอมมาตรวจที่โรงพยาบาล หรือไม่ให้ข้อมูล
กลุ่มผู้ป่วยที่พบจาก 528 เคส มีดังนี้…

– เป็นผู้ชาย 99 เปอร์เซ็นต์ และ Trans 1 เปอร์เซ็นต์

– Homosexual 96 เปอร์เซ็นต์

– HIV + 41 เปอร์เซ็นต์

– ชาวผิวขาว 75 เปอร์เซ็นต์

– มาพร้อมโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่น 29 เปอร์เซ็นต์

อาการหลัก ๆ ของโรคฝีดาษลิง

– มีผื่น 95 เปอร์เซ็นต์ (ในบริเวณใต้ร่มผ้า 73 เปอร์เซ็นต์ แขนขา 55 เปอร์เซ็นต์ และใบหน้า 25 เปอร์เซ็นต์) ส่วนใหญ่มีน้อยกว่า 5 จุด มีผื่นเกิน 20 จุดแค่ 11 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผื่นส่วนใหญ่เป็นแบบตุ่มหนอง (Vesiculopustular) รองลงมาคือเป็นแบบหลุม (Ulcer)

– มีไข้ 62 เปอร์เซ็นต์

– มีต่อมน้ำเหลืองโต 56 เปอร์เซ็นต์

– มีอาการเจ็บคอ 21 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ แม้ส่วนใหญ่คิดว่าฝีดาษลิงจะติดจากการใกล้ชิดเวลาร่วมเพศ แต่บอกไม่ได้ว่าเพราะใกล้ชิด หรือติดทางเพศสัมพันธ์ แต่พบว่าในจำนวน 32 คน ที่ได้ตรวจ PCR ของไวรัสในน้ำอสุจิ พบไวรัสถึง 29 คน แต่ยังไม่สามารถตอบได้ว่าเป็นไวรัสจริง หรือซากไวรัส

สำหรับอาการและการดำเนินโรค พบว่ายังไม่มีผู้เสียชีวิต มี 13 เปอร์เซ็นต์ ต้องนอนโรงพยาบาลเพราะมีอาการปวดจากแผล อาทิ ผู้ป่วยมีแผลที่ทวารหนักแล้วอุจจาระไม่ได้ หรือมีบางรายติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนที่แผล ซึ่งฝีดาษลิงมีลักษณะคล้ายโรคจำพวก Syphilis จนบางเคสหมอที่ทำการรักษาถึงขั้นสับสนว่าเป็น Syphilis ก็มี